วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การตรวจสอบสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร

สารบอแรกซ์

ใช้ทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูสด หมูบด ปลาบด ทอดมัน เนื้อสด ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ

ขั้นตอนการทดสอบ

•ตักอาหาร 1 ช้อน ใส่ในถ้วย
•เติมน้ำยาทดสอบบอ แรกซ์ลงบนอาหารจนชุ่มแล้วกวนให้เข้ากัน
•จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
•นำกระดาษขมิ้นที่จุ่มในอาหารจนเปียกแล้ววางบนจานกระเบื้องหรือแผ่นกระจกแล้วนำไปวางไว้กลางแดดนาน 10 นาที ถ้ากระดาษขมิ้นมี สีส้มจนถึงแดง แสดงว่าอาหารมีสารบอ แรกซ์ปนอยู่


สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์)

ใช้ทดสอบสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์ในอาหาร เช่น ถั่วงอก น้ำตาลมะพร้าว ขิงฝอย หน่อไม้ดอง ทุเรียนกวน กระท้อน

ขั้นตอนการทดสอบ

•ถ้าอาหารเป็นของเหลว ให้เทตัวอย่างของเหลวนั้นลงในถ้วยพลาสติก จำนวน 5 มิลลิลิตร ถ้าอาหารเป็นของแข็ง ตักอาหารครึ่งช้อนชาใส่ในถ้วย เติมน้ำสะอาดประมาณ 10 มิลลิลิตร แล้วบดตัวอย่างให้แตก
•หยดน้ำยาทดสอบ จำนวน 1-3 หยด ลงในถ้วยเขย่าให้เข้ากัน สังเกตสีของส่วนที่เป็นน้ำในถ้วย
•ถ้าของเหลวมี สีเทา หรือ สีดำ แสดงว่าอาหารมีสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์
ถ้าของเหลวมี สีฟ้าอ่อน หรือ สีเขียว แสดงว่าอาหารไม่มีสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์

สารฟอร์มาลิน

ใช้ทดสอบฟอร์มาลินในน้ำแช่อาหาร เช่น ปลาทะเล อาหารทะเล

ขั้นตอนการทดสอบ

•เทน้ำแช่อาหารที่สงสัยลงในขวดสารทดสอบที่ 1 ให้ได้ความสูงของของเหลวประมาณ 1 ใน 3 ของขวด ( หากไม่มีน้ำแช่อาหาร แต่สงสัยว่าอาหารนั้นจะผ่านการแช่ฟอร์มาลินให้ใช้น้ำสะอาดรินผ่านอาหารนั้นมาในปริมาณที่พอตรวจได้ ) ปิดฝาขวดเขย่าจนสารทดสอบในขวดละลายหมด
•ถ่ายของเหลวจากขวด สารทดสอบที่ 1 ลงขวด สารทดสอบ 2 ปิดฝาขวดและเขย่าเล็กน้อย
•ถ่ายของเหลวจากขวดสารทดสอบที่ 2 ลงขวดสารทดสอบที่ 3 แล้วรีบปิดฝาขวด แกว่งเบาๆให้ของเหลวเข้ากัน สังเกตสีที่เกิดขึ้น
•ถ้ามีสีเกิดขึ้นตั้งแต่ สีชมพูจนถึงสีแดง แสดงว่าน้ำนั้นมีฟอร์มาลินผสมอยู่
สารกันรา ( กรดซาลิซิ ลิค )

ใช้ทดสอบกรดซาลิซิ ลิคในอาหาร เช่น ผักดอง – ผลไม้ดอง

ขั้นตอนการทดสอบ

•เทน้ำดองผักหรือน้ำดองผลไม้ ใส่ถ้วยเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ถ้วยละ 5 มิลลิลิตร
•หยดน้ำยาขวดเบอร์ 1 ( สีขาว ) ลงในถ้วยที่ 2 ประมาณครึ่งหลอดหยด
•เติมน้ำยาขวดเบอร์ 2 ( สีส้ม ) ลงในถ้วยทั้ง 2 ใบๆละ 1 มิลลิลิตร ( 1 หลอดหยด )
•ดูสีทันทีที่เติมน้ำยาจากขวดเบอร์ 2 ลงในถ้วยทั้ง 2 ใบ โดยไม่ต้องเขย่า
•ถ้าถ้วยที่ 1 มีสีเหมือนถ้วยที่ 2 แสดงว่าอาหารนั้นมีกรดซาลิซิ ลิค
ถ้าถ้วยที่ 1 มีสีไม่เหมือนถ้วยที่ 2 แสดงว่าอาหารนั้นไม่มีกรดซาลิซิ ลิค

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สารปนเปื้อนในอาหาร

สารปนเปื้อนในอาหาร

สารปนเปื้อน (Contaminants) หมายถึง สารที่ปนเปื้อนกับอาหารโดยไม่ตั้งใจ แต่เป็นผลซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิต กรรมวิธีการผลิต โรงงานหรือสถานที่ผลิต การดูแลรักษา การบรรจุ การขนส่งหรือการเก็บรักษา หรือเกิดเนื่องจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม และหมายความรวมถึงชิ้นส่วนจากแมลง สัตว์หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นด้วย

สารปนเปื้อนที่ควรระวังมากเป็นพิเศษ ได้แก่

- โลหะในอาหารสำเร็จรูปและภาชนะบรรจุอาหาร เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอท ดีบุก แคดเมี่ยม ฯลฯ

- สารตกค้างจากเคมีกำจัดศัตรูพืช (Pesticide residues) ในอาหาร

- สารตกค้างจากอุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ PCB's และโลหะเป็นพิษ เช่น แมงกานีส ตะกั่ว ปรอท ฯลฯ

- สารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxins) เช่น อะฟลาท็อกซินในถั่วลิสง

- จุลินทรีย์ที่เป็นข้อบ่งชี้ว่า อาหารนั้นผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ถูกต้อง คือ โคลิฟอร์ม (Coliform) และ อี.โคไล (E.coli)

- จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ที่พบบ่อย ได้แก่ สแตฟิโลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) คลอสตรีเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) คลอสตรีเดียม โบทุลินุม (Clostridium botulinum) ฯลฯ

- สิ่งแปลกปลอม เช่น ขาแมลงสาป ขนหนู ฯลฯ เพราะอาจทำให้ได้รับเชื้อโรค จากแมลงสาป และหนูได้

อาหารเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์เราทุกคน เพราะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้ ร่างกายมนุษย์เจริญเติบโตและยังทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งในสมัยก่อนอาหารที่เรารับประทานยังไม่มีการผลิตครั้งละปริมาณมาก ๆ เพื่อการค้า จะรับประทานเป็นมื้อ เก็บไว้อย่างมากก็เพียงข้ามวันเท่านั้น แต่ในปัจจุบันโลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหารประกอบกับจำนวนพลเมืองของโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการผลิตอาหารในปริมาณมาก ๆ ทำให้มีการค้นคิดวิธีการต่าง ๆ ในการ เก็บรักษาอาหารได้นาน รวมทั้งช่วยให้อาหารมีรูปลักษณ์ที่ดี ทำให้ผู้บริโภคสนใจและต้องการเลือกซื้อ โดยมีการนำสารเคมีต่าง ๆ มาผสมในอาหาร ซึ่งสารเคมีบางอย่างเป็นอันตรายต่อร่างกาย บางชนิดหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้ พบว่ามีอาหารหลายชนิดที่เรารับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ โดยสารเคมีที่เป็นอันตรายแต่พบมีการปนเปื้อนในอาหารมี 6 ชนิด ได้แก่

1. สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูทามอล)
ซาลบูทามอล เป็นสารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (-Agonist) เป็นตัวยาสำคัญในการผลิตยาบรรเทาโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมคลายตัว แต่จะมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ ระดับน้ำตาลในเลือดและกล้ามเนื้อโครงสร้างของร่างกาย พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู มีการนำสารชนิดนี้ไปผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงหมู เพื่อกระตุ้นให้หมูอยากอาหาร เร่งการเจริญเติบโตของหมู ช่วยสลายไขมันและทำให้กล้ามเนื้อขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เนื้อหมูมีปริมาณเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น เพราะจะทำให้ได้ราคาดีกว่าหมูที่มีชั้นไขมันหนา ๆ

อันตรายจากซาลบูทามอล
การบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ อาจมีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน มีอาการทางจิตประสาท และเป็นอันตรายมากสำหรับหญิงมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไธรอยด์

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อหมู

- เลือกซื้อเนื้อหมูที่มีสีธรรมชาติ มีมันหนาบริเวณสันหลัง และมีไขมันแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อเห็นได้ชัดเจนเมื่อตัดขวาง
- เมื่อไม่ต้องการบริโภคมันหมูก็ให้ตัดมันหมูทิ้งไป

ข้อสังเกต เนื้อหมูที่ปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงถ้าหั่นและปล่อยทิ้งไว้ เนื้อหมูจะมีลักษณะค่อนข้างแห้ง

2. บอแรกซ์
บอแรกซ์ หรืออาจเรียกชื่อว่า ผงกรอบ น้ำประสานทอง ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกันบูด และเม่งแซหรือเพ่งแซ มีลักษณะเป็นผง หรือผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดให้เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร เพราะเป็นสารเคมีที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว ใช้เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อ ใช้เป็นสารฆ่าแมลง ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ในการเชื่อมทอง ใช้ชุบและเคลือบโลหะ และใช้ในการผลิตถ่านไฟฉาย เป็นต้น ชื่อทางเคมีของบอแรกซ์ คือ "โซเดียมบอเรต" (Sodium Borate) "โซเดียมเตตราบอเรต" (Sodium Tetraborate) "โซเดียมไบบอเรต" (Sodium Biborate) ฯลฯ

เนื่องจากสารบอแรกซ์ทำให้อาหารมีลักษณะหยุ่น กรอบ และมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียด้วย จึงพบมีการลักลอบนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่น กรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย นอกจากนี้ยังมีการนำเอาบอแรกซ์ไปละลายน้ำแล้วทาที่เนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสด ไม่บูดเน่าก่อนเวลา บางแห่งใช้เนื้อหมูเนื้อวัวจุ่มลงในน้ำบอแรกซ์ รวมทั้งพบว่ามีการปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากมีลักษณะเป็นผลึกเล็ก ๆ คล้ายผงชูรส

อาหารที่มักตรวจพบบอแรกซ์
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เช่น หมูสด หมูบด ปลาบด ทอดมัน ลูกชิ้น ไส้กรอก แป้งกรุบ ทับทิมกรอบ ผลไม้ดอง เป็นต้น

อันตรายต่อผู้บริโภค

บอแรกซ์ เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย ความรุนแรงของการเกิดพิษ ขึ้นกับปริมาณที่ร่างกาย ได้รับและการสะสมในร่างกาย หากได้รับในปริมาณไม่มาก แต่ได้รับบ่อยเป็นเวลานานจะเกิดอาการเรื้อรัง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังแห้งอักเสบ หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับและไตอักเสบ ระบบสืบพันธุ์เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น ถ้าได้รับบอแรกซ์ในปริมาณสูงจะเกิดอาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อุจจาระร่วง เป็นต้น บางครั้งรุนแรงถึงเสียชีวิตได้

วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากบอแรกซ์

- ไม่ควรซื้อเนื้อสัตว์บดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นและต้องล้างให้สะอาดแล้วจึงนำมาบดหรือสับเอง

- หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ผิดปกติจากธรรมชาติ เช่น เนื้อหมูที่แข็ง กดแล้วเด้ง หรือผิวเป็นเงาเคลือบคล้าย กระจก

- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะหยุ่นกรอบอยู่ได้นานผิดปกติ อาหารที่เก็บไว้เป็นเวลานาน ก็ไม่บูดเสีย

หากไม่แน่ใจในอาหารนั้น ๆ ควรใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์อย่างง่าย ซึ่งหาซื้อได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข นนทบุรี

3. ฟอร์มาลิน
"ฟอร์มาลิน" เป็นชื่อที่รู้จักดีในทางการค้าของสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ หรือที่วงการแพทย์ เรียกว่า "น้ำยาดองศพ" เป็นสารละลายที่ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ประมาณร้อยละ 37 ละลายอยู่ในน้ำ และมีเมทานอลปนอยู่ด้วยประมาณ 10 - 15 % ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ ใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นยับ เป็นต้น หรือใช้ในทางการแพทย์เป็นยาฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และเป็นน้ำยาดองศพ พบว่ามีการนำสารฟอร์มาลินมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียง่าย และเก็บรักษาได้นาน

อาหารที่มักตรวจพบฟอร์มาลิน

อาหารทะเลสด ผักสดต่าง ๆ และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น

อันตรายต่อผู้บริโภค

ฟอร์มาลิน เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายหากบริโภคโดยตรงจะมีพิษเฉียบพลัน คือ มีอาการตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ และตายในที่สุด หากได้รับน้อยลงมาจะเป็นผลให้การทำงานของตับ ไต หัวใจ สมองเสื่อมลง หากสัมผัสก็จะระคายเคืองผิวหนัง ปวดแสบปวดร้อน ผู้ที่ไวต่อสารนี้มากจะมีอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก หากสูดดมจะมีอาการเคืองตา จมูก และคอ ปวดแสบปวดร้อน

วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟอร์มาลิน

- เมื่อต้องการซื้ออาหารทะเล ผักสดต่าง ๆ และเนื้อสัตว์ ให้ตรวจสอบโดยการดมกลิ่น จะต้องไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก

- ก่อนนำอาหารสดมาประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดก่อน

ข้อสังเกต ผักสดต่าง ๆ ที่ขายทั้งวันโดยยังดูสด ไม่เหี่ยวทั้ง ๆ ที่ถูกแสงแดดและลมตลอดทั้งวัน หรือเนื้อสัตว์มีสีเข้มและสดผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้แช่เย็น อาจมีการแช่ฟอร์มาลินจึงไม่ควรซื้อมารับประทาน

4. สารกันรา
สารกันรา หรือ สารกันบูด รู้จักในชื่อกรดซาลิซิลิค เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก พบว่ามีผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น และให้เนื้อของผักผลไม้ที่ดองคงสภาพเดิมน่ารับประทาน ไม่เละง่าย

อาหารที่มักตรวจพบสารกันรา

มะม่วงดอง ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น

อันตรายต่อผู้บริโภค

เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากบริโภคเข้าไปมาก ๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่แม้บริโภคเข้าไปไม่มากแต่ถ้าแพ้สารกันรา ก็จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้

วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารกันรา

เลือกซื้ออาหารที่สดใหม่ ไม่บริโภคอาหารหมักดอง หรือถ้าจะบริโภคให้เลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้

5. สารฟอกขาว
สารฟอกขาว หรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium hydrosulfite) หรือผงซักมุ้ง เป็น สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยไหม แห และอวน พบว่ามีผู้ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความขาวสดใสน่ารับประทานและดูใหม่อยู่เสมอ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

อาหารที่มักตรวจพบสารฟอกขาว

ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน

อันตรายต่อผู้บริโภค

เมื่อสัมผัสสารฟอกขาวโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้าบริโภคเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว หากบริโภคเกิน 30 กรัม จะทำให้ถ่ายเป็นเลือด ชัก ช็อก หมดสติ หายใจไม่ออก ไตวาย และเสียชีวิตในที่สุด

วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารฟอกขาว

เลือกซื้ออาหารที่มีความสะอาด สีใกล้เคียงกับธรรมชาติ ไม่ขาวจนผิดปกติ เช่น ทุเรียนกวน ที่มีสีหมองคล้ำตามธรรมชาติ แทนที่จะซื้อทุเรียนกวนที่มีสีเหลืองใสจากการใส่สารฟอกขาว หลีกเลี่ยงการซื้อถั่วงอกหรือขิงซอยที่ผ่านการใช้สารฟอกขาวจนทำให้มีสีขาวอยู่เสมอ แม้ตากลมสีก็ยังไม่คล้ำ เป็นต้น

6. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาฆ่าแมลง" นั้น ปัจจุบันพบว่ามีการใช้ ในการปราบศัตรูพืชมากขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก สารปราบศัตรูพืชมีหลายชนิด เช่น สารฆ่าหญ้าและวัชพืช สารฆ่าแมลง และสารฆ่าเชื้อรา การใช้สารเคมีเหล่านี้อาจใช้ในระหว่างการเพาะปลูก ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต หลังการเก็บเกี่ยว หรือระหว่างการเก็บรักษาและอื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับอาหาร

อาหารที่มักตรวจพบมีสารเคมีตกค้าง

ผักสด ผลไม้สด ปลาแห้ง เป็นต้น

อันตรายต่อผู้บริโภค

เมื่อได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณมาก ๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุด คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือหากได้รับปริมาณไม่มาก ก็จะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

วิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เลือกซื้อผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง เลือกบริโภคผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือ ผักพื้นบ้าน เลือกบริโภคผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ผักและผลไม้ที่ปลอกเปลือกได้ ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนปอกเปลือก และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น แหล่งผลิตที่กรมวิชาการเกษตรรับรอง เป็นต้น

อาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษและโรคท้องร่วงเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศซึ่งเกิดจากการเก็บรักษาและสุขนิสัยที่ไม่เหมาะสมของผู้ปรุงและผู้บริโภค ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ปนเปื่อนไปกับอาหารและก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค

โดยทั่วไปอาการทั่วไปเกิดจากโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ มักเป็นความผิดปรกติที่เกิดขึ้นนระบบทางเดินอาหารเช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อ่อนเพลียหรืออาจมีอาการอาเจียนความรุนแรงอาการขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์หรือสารพิษในอาหาร

การหลีกเลี่ยงอาหารเป็นพิษ ควรรับประทานที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆดิบๆการเลื่อกซื้ออาหารถุง ควรดูว่าอาหารอยู่ในภาชนะทีมีฝาหรือมีอะไรปิดป้องกันฝุ่นละอองและที่สำคัญก่อนรับประทานอาหารควรอุ่นอาหารให้ร้อนก่อนทุกครั้งและอย่าลืม ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร

อาการที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ มักเป็นความผิดปรกติที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร

วิธีการเลือกซื้อปลา

" วิธีการเลือกซื้อปลา!? "

วิธีการในการเลือกซื้อปลาที่จะมาแนะนำกันในวันนี้นั้น จะเน้นที่ได้ปลาที่ร่างกายแข็งแรง ซื้อแล้วไม่ตายง่ายๆ แต่เรื่องความสวยงามนั้น ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนนะครับ ว่าชอบแบบใหนกัน ไม่ได้มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวเหมือนการประกวด ดังนั้นจงเลือกตามใจชอบเถิดครับ เว้นแต่ว่าอย่าเลือกปลาพิการก็แล้วกัน!
ในการซื้อปลานั้นเราจำเป็นต้องมีเวลามากพอ ไม่ใช้รีบซื้อรีบเสร็จ ถ้าตายก็ซื้อใหม่ เพราะเราต้องใช้การสังเกตุต่างๆมากมาย โดยมีข้อสังเกตุต่างๆดังนี้
1. ขั้นแรกที่เดินเข้าไปที่ร้านขายปลานั้น ดูที่ตู้หรืออ่าง ของปลาที่เราสนใจจะซื้อว่ามีปลาตายลอยอยู่หรือไม่? ถ้ามีอย่าซื้อเด็ดขาด เพราะปลาที่ตายจะแพร่เชื้อโรคมาสู่ปลาที่ยังไม่ตายได้ แต่ข้อสังเกตุนี้ถ้าผู้ขายรีบตักออกเราก็ไม่สามารถรู้ได้เลย!~!
2. จากนั้นให้เราใช้เวลายืนสังเกตุสักพักโดยยืนนิ่งๆอย่าใกล้ตู้หรืออ่างมากเกินไปเพราะจะทำให้มันตกใจ เราควรดูว่าปลาตัวใดที่ไม่ค่อยว่าย หรือ ชอบนอนจมที่ก้นตู้ หรือ ชอบ ลอยตัวอยู่เหนือน้ำนิ่งๆ ให้สันนิฐานว่ามันป่วย และไม่ควรซื้ออย่างยิ่งไม่ว่าจะสวยเท่าใหนก็ตาม เพราะในอนาคตมันอาจตายได้ ดังนั้นเราไม่ควรเลือกตัวดังกล่าว และหากโรคที่มันเป็นอยู่ติดต่อได้ ปลาตัวอื่นอาจกำลังจะเป็นด้วยก็ได้ แต่สำหรับตัวอื่นๆในตู้นั้นก็ไม่เป็นไรถ้ามันยังไม่แสดงอาการก็ยอมรับได้ เพราะหากจะให้หาร้านที่ปลาทั้งตู้แข็งแรงหมดคงต้องเดินจนขาลากเป็นแน่ หรืออาจไม่เจอเลยก็ได้!~!
3. จากนั้นให้เรามองหาปลาตัวที่ ว่ายน้ำไปมาอยู่เสมอ คล่องแคล่ว แต่ไม่ใช้ว่ายเร็วจนผิดสังเกตุ เพราะนั้นอาจบอกให้เรารู้ว่ามันมีพยาธิติดอยู่ที่ลำตัวมันก็เป็นได้ ดังนั้นให้หาตัวที่ว่ายน้ำไปมา สม่ำเสมอ ในระดับกลางๆตู้ หรือว่ายขึ้นว่ายลง เพราะปลาที่ไม่ป่วย สุขภาพดีนั้นตามนิสัยของมันมักจะว่ายหาอาหารอยู่เสมอ ดังนั้นข้อสังเกตุอาจช่วยบอกเราได้!~!
4. จากนั้นเมื่อเราได้ตัวที่เราหมายตาไว้แล้วอย่าเพิ่งรีบตัก ให้ดูก่อนว่าที่ลำตัวมันมีบาดแผล หรือสิ่งผิดปกติหรือไม่? ลักษณะของปลาตัวนั้นพิการหรือไม่? เป็นไปตามสายพันธุ์หรือไม่? เช่น สิงห์ก็ไม่ควรมีกระโดงที่หลังเป็นต้น ส่วนเรื่องความสวยงามนั้นก็แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคน บางคนชอบปลาสั้นๆ อวบๆ บางคนอาจชอบ ยาวๆเพียวๆ ก็ได้ขอแค่อย่าพิการเป็นพอ เพราะหากมันเป็นปลาพิการแล้ว เมื่อเราเลี้ยงไปเรื่อยๆ มีความรู้มากขึ้นว่าอะไรเป็นอะไร เราจะเสียใจที่ซื้อมันมา !~!
5. เมื่อได้หาตัวที่ต้องการจนเจอแล้ว จงรีบตักมันขึ้นมาอย่างนิ่มนวลซะ เพราะหากชักช้าคนข้างๆ อาจตักไปก่อนก็ได้ ปลาดีๆหาไม่ง่ายนะครับ อุตสาห์เล็งตั้งนาน !~!???
คราวนี้เมื่อเราเลื้อกซื้อปลาที่ต้องการได้แล้ว คราวหน้าเรามาดูกันเรื่องของการปล่อยปลาออกจากถุงที่ร้านใส่มาก็แล้วกันครับ

สารปรุงแต่งอาหารและสารพิษในอาหาร



สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสและวัตถุเจือปนในอาหารที่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งสี กลิ่น รส และคุณสมบัติอื่น ๆ
ของอาหาร มีอยู่ 3 ประเภท
1. ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ได้แก่
1.1 สีต่าง ๆ ที่ใช้ผสมอาหาร ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ ได้แก่
สีเขียว จากใบเตยหอม พริกเขียว
สีเหลือง จากขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ลูกตาลยี ไข่แดง ฟักทอง ดอกคำฝอย เมล็ดคำแสด
สีแดง จากดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศ พริกแดง ถั่วแดง ครั่ง
สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัญ
สีดำ จากกากมะพร้าวเผา ถั่วดำ ดอกดิน
สีน้ำตาล จากน้ำตาลเคี่ยวไหม้ หรือคาราเมล
1.2 สารเคมีบางประเภท ได้แก่
1.2.1 สารเคมีประเภทให้รสหวาน เช่น น้ำตาลทราย กลูโคส แบะแซ
1.2.2 สารเคมีบางประเภทให้รสเปรี้ยวในอาหาร เช่น กรดอะซีติก (กรดน้ำส้ม) กรดซิตริก (กรดมะนาว)
1.2.3 สารเคมีที่เป็นสารแต่งกลิ่น เช่น น้ำนมแมว หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ต่าง ๆ
2. ประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้เกินขอบเขต
2.1 สีผสมอาหาร ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี แม้กฏหมายกำหนดให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้ แต่หากใช้ใน
ปริมาณมากและบ่อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ ปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภทเครื่องดื่ม
ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน มีดังนี้
2.1.1 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
สีแดง ได้แก่ เอโซรูบีน เออริโทรซิน
สีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
สีเขียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
สีน้ำเงิน ได้แก่ อินดิโกคาร์มีนหรืออินดิโกติน
2.1.2 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
สีแดง ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์
สีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนบลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
2.2 ผงชูรส เป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง หรือ
จากกากน้ำตาล ลักษณะของผงชูรสแท้จะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่น ปลายทั้ง 2 ข้างโตและมัน ตรงกลางคอดเล็กคล้ายกระดูก
ไม่มีความวาวแบบสะท้อนแสง มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม ปริมาณที่ใช้ควรเพียงเล็กน้อย ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจมีอาการแพ้ผงชูรสได้
ควรใช้ผงชูรสประมาณ 1/500-1/800 ส่วนของอาหารหรือประมาณ 1 ช้อนชาต่ออาหาร 10 ถ้วยตวง และไม่ควรใช้ผงชูรส
ในอาหารทารกและหญิงมีครรภ์
2.3 สารเคมีที่ใช้กันเสียกันบูด เป็นสารประกอบทางเคมีหรือของผสมของสารประกอบที่ใช้เติมลงในอาหาร เพื่อชะลอ
การเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บอาหาร โดยจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และส่วนประกอบของเอนไซม์ ซึ่งทำให้การเจริญ
เติบโตของจุลินทรีย์หยุดชะงักหรือตายได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการแบ่งเซลล์ยับยั้งการสังเคราะห์ของโปรตีน ทำให้ขบวนการแบ่ง
เซลล์หยุดชะงัก จำนวนจุลินทรีย์จะไม่เพิ่มขึ้น การใช้วัตถุกันเสีย ไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ กรณีที่จำเป็นต้องใช้ควรเลือกวัตถุกันเสีย
ที่ปลอดภัยและใช้ในปริมาณที่กฏหมายกำหนด รวมทั้งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
3. ประเภทเป็นพิษไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ปัจจุบันได้มีการใช้สารเคมีต่าง ๆ ปรุงแต่งอาหารเพื่อให้อาหารน่ารับประทานเก็บได้นานรวมทั้งราคาถูก และจากการ
ตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐพบว่า มีการใช้สารเคมีที่กฏหมายห้ามใช้ในการปรุงแต่งในอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้
บริโภคถึงชีวิตได้
ตัวอย่างอันตรายจากสารเคมีที่ห้ามใช้ในการปรุงแต่งอาหาร
ชื่อสาร จุดประสงค์ของการใช้ อันตรายที่ได้รับ
น้ำประสานทอง (บอแรกซ์ ผงกรอบ เม่งแซ เพ่งแซ) ทำลูกชิ้นให้กรอบ ทำให้แป้งมีลักษณะกรุบ (ในเต้าทึง)ทำหมูยอให้กรอบ ปนปลอมในผงชูรส (ซึ่งสังเกตลักษณะได้โดยเกล็ดคล้ายแผ่นเศษกระจก
อาจเป็น ก้อนเล็กสีขาว) เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบสมอง ซึ่งอาจทำให้มีอาการ คล้ายเยื่อหุ้มสมองอักเสบและที่รุนแรงมาก คือเป็นอันตรายต่อไตจะทำให้เกิดไตพิการและตายได้ถ้าได้รับ
สารนี้ ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน

โซเดียมเบตา ฟอสเฟต ปนปลอมในผงชูรสสังเกตลักษณะได้ โดยเกล็ดจะมีลักษณะหัวท้ายมน บางกว่า ใสเป็นมันคล้ายกระจก ทำให้ท้องร่วง
สีย้อมผ้า ผสมอาหารทำให้มีสีสวยงาม โรคกระเพาะอาหารและลำใส้และเป็นสาเหตุการเกิด
โรคมะเร็ง เช่นมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
กรดซาลิไซลิค สารกันบูด เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารอย่างมาก โดยอาจทำให้เกิดแผลใน กระเพาะอาหาร เป็นพิษต่อระบบประสาทหรือมีอาการแพ้เป็นแผล ตามตัว
โซเดียมคาร์บอเนต(โซดาซักผ้า) ทำให้เนื้อนุ่ม กัดเยื่อบุอ่อนของระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการคลื่นใส้อาเจียน ท้องร่วงอาจรุนแรงถึงตายได้



สารพิษในอาหาร
สารพิษในอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. สารพิษที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในส่วนประกอบของอาหารซึ่งจะพบอยู่ในพืชและสัตว์ สิ่งเหล่านี้จะมีโทษต่อมนุษย์ก็ด้วย
ความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปเก็บเอาอาหารที่เป็นพิษมาบริโภค เช่น พิษจากเห็ดบางชนิด ลูกเนียง แมงดาทะเลเป็นพิษ
สารพิษในหัวมันสำปะหลังดิบ เป็นต้น
2. สารพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนในอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งแบ่งเป็น
2.1 สารพิษที่มาจากจุลินทรีย์ซึ่งมี 2 ประเภทใหญ่ คือ อันตรายที่เกิดจากตัวจุลินทรีย์และอันตรายที่เกิดจากสารพิษที่
จุลินทรีย์สร้างขึ้น
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษเนื่องจากตัวของมันเอง มีอยู่ 5 พวก ได้แก่
1. แบคทีเรีย เช่น Salmonella Shigella Vibrio
2. รา เช่น Aspergillus Penicillin fusarum Rhizopus
3. โปรโตซัว เช่น Entamoeba histolytica
4. พาราสิต เช่น Trichinosis Tapeworms
5. ไวรัส เช่น Poliovirus Hepatitis Virus
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษภัยอันเนื่องมาจากสารพิษที่สร้างขึ้นในขณะที่จุลินทรีย์นั้นเจริญเติบโตแล้วปล่อยทิ้งไว้ในอาหาร มีทั้ง
สารพิษของแบคทีเรีย และของเชื้อรา สารพิษที่สำคัญที่พบ ได้แก่สารพิษที่เกิดจาก Clostridium botulinum เป็นจุลินทรีย์ที่เป็น
สาเหตุให้เกิดพิษในอาหารกระป๋องและสารพิษจากเชื้อรา ที่เรียกว่า Alflatoxin มักจะพบในพืชตะกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วลิสงและ
ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ได้แก่ ถั่วกระจก ขนมตุ๊บตั๊บ น้ำมัน ถั่วลิสง เป็นต้น
3. พิษที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งปะปนมากับอาหาร ได้แก่ สารหนู และโซเดียมฟลูออไรด์ ที่มีอยู่ในยาฆ่าแมลง หรือยาฆ่า
วัชพืชต่าง ๆ สำหรับยาฆ่าแมลงซึ่งใช้มากเกินไปหรือเก็บพืชผลเร็วกว่ากำหนดเมื่อกินผักผลไม้เข้าไปจะทำให้ร่างกายสะสมพิษ
และเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งได้ สำหรับพิษจากสารปลอมปนและสารปรุงแต่งอาหารได้กล่าวแล้ว


ขอบคุณที่มาจาก http://edtech.kku.ac.th/~s49321275011/495050331-6/sc31-8-5.htm

การเลือกซื้อเครื่องสำอาง

การเลือกซื้อเครื่องสำอาง



ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อ และใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

1. ซื้อเครื่องสำอางจากร้านที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้ติดต่อหาผู้รับผิดชอบได้

2. ซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทย ซึ่งบ่งบอกสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางอย่างครบถ้วน ชัดเจน ได้แก่ ชื่อและชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อส่วนประกอบสำคัญ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วิธีใช้ และประมาณสุทธิ

3. ปฏิบัติตามวิธีใช้ และใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำเตือนที่ระบุไว้ที่ฉลากอย่างเคร่งครัด

4. หากใช้เครื่องสำอางชนิดใดเป็นครั้งแรก ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ด้วยการทาผลิตภัณฑ์นั้นในปริมาณเล็กน้อยบริเวณท้องแขน แล้วทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง หากไม่มีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้น แสดงว่าใช้ได้

5. หากใช้เครื่องสำอางใดแล้ว มีความผิดปกติเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครั้งแรก หรือใช้มาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม) ต้องหยุดใช้ทันที ถ้าหยุดใช้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษษแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อค้นหาสาเหตุ และทำการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

6. ถ้ามีประวัติการแพ้สารใดมาก่อน เวลาเลือกซื้อผลืตภัณฑ์ควรพิจารณาข้อมูลในส่วนของส่วนประกอบสำคัญอย่างละเอียด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้

7. เมื่อใช้เครื่องสำอางเสร็จแล้ว ต้องปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง สิ่งสกปรก หรือเชื้อโรคต่างๆ

8. เก็บเครื่องสำอางไว้ในที่แห้งและเย็น อย่าเก็บในที่ร้อนหรือแสงแดดส่องถึง เพราะจะเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าปกติ

การเลือกซื้อเครื่องสำอาง

การเลือกซื้อเครื่องสำอาง



ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อ และใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

1. ซื้อเครื่องสำอางจากร้านที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้ติดต่อหาผู้รับผิดชอบได้

2. ซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทย ซึ่งบ่งบอกสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางอย่างครบถ้วน ชัดเจน ได้แก่ ชื่อและชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อส่วนประกอบสำคัญ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วิธีใช้ และประมาณสุทธิ

3. ปฏิบัติตามวิธีใช้ และใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำเตือนที่ระบุไว้ที่ฉลากอย่างเคร่งครัด

4. หากใช้เครื่องสำอางชนิดใดเป็นครั้งแรก ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ด้วยการทาผลิตภัณฑ์นั้นในปริมาณเล็กน้อยบริเวณท้องแขน แล้วทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง หากไม่มีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้น แสดงว่าใช้ได้

5. หากใช้เครื่องสำอางใดแล้ว มีความผิดปกติเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครั้งแรก หรือใช้มาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม) ต้องหยุดใช้ทันที ถ้าหยุดใช้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษษแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อค้นหาสาเหตุ และทำการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

6. ถ้ามีประวัติการแพ้สารใดมาก่อน เวลาเลือกซื้อผลืตภัณฑ์ควรพิจารณาข้อมูลในส่วนของส่วนประกอบสำคัญอย่างละเอียด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้

7. เมื่อใช้เครื่องสำอางเสร็จแล้ว ต้องปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง สิ่งสกปรก หรือเชื้อโรคต่างๆ

8. เก็บเครื่องสำอางไว้ในที่แห้งและเย็น อย่าเก็บในที่ร้อนหรือแสงแดดส่องถึง เพราะจะเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าปกติ