วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การตรวจสอบสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร

สารบอแรกซ์

ใช้ทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูสด หมูบด ปลาบด ทอดมัน เนื้อสด ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ

ขั้นตอนการทดสอบ

•ตักอาหาร 1 ช้อน ใส่ในถ้วย
•เติมน้ำยาทดสอบบอ แรกซ์ลงบนอาหารจนชุ่มแล้วกวนให้เข้ากัน
•จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
•นำกระดาษขมิ้นที่จุ่มในอาหารจนเปียกแล้ววางบนจานกระเบื้องหรือแผ่นกระจกแล้วนำไปวางไว้กลางแดดนาน 10 นาที ถ้ากระดาษขมิ้นมี สีส้มจนถึงแดง แสดงว่าอาหารมีสารบอ แรกซ์ปนอยู่


สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์)

ใช้ทดสอบสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์ในอาหาร เช่น ถั่วงอก น้ำตาลมะพร้าว ขิงฝอย หน่อไม้ดอง ทุเรียนกวน กระท้อน

ขั้นตอนการทดสอบ

•ถ้าอาหารเป็นของเหลว ให้เทตัวอย่างของเหลวนั้นลงในถ้วยพลาสติก จำนวน 5 มิลลิลิตร ถ้าอาหารเป็นของแข็ง ตักอาหารครึ่งช้อนชาใส่ในถ้วย เติมน้ำสะอาดประมาณ 10 มิลลิลิตร แล้วบดตัวอย่างให้แตก
•หยดน้ำยาทดสอบ จำนวน 1-3 หยด ลงในถ้วยเขย่าให้เข้ากัน สังเกตสีของส่วนที่เป็นน้ำในถ้วย
•ถ้าของเหลวมี สีเทา หรือ สีดำ แสดงว่าอาหารมีสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์
ถ้าของเหลวมี สีฟ้าอ่อน หรือ สีเขียว แสดงว่าอาหารไม่มีสารโซเดียมไฮโดร ซัลไฟต์

สารฟอร์มาลิน

ใช้ทดสอบฟอร์มาลินในน้ำแช่อาหาร เช่น ปลาทะเล อาหารทะเล

ขั้นตอนการทดสอบ

•เทน้ำแช่อาหารที่สงสัยลงในขวดสารทดสอบที่ 1 ให้ได้ความสูงของของเหลวประมาณ 1 ใน 3 ของขวด ( หากไม่มีน้ำแช่อาหาร แต่สงสัยว่าอาหารนั้นจะผ่านการแช่ฟอร์มาลินให้ใช้น้ำสะอาดรินผ่านอาหารนั้นมาในปริมาณที่พอตรวจได้ ) ปิดฝาขวดเขย่าจนสารทดสอบในขวดละลายหมด
•ถ่ายของเหลวจากขวด สารทดสอบที่ 1 ลงขวด สารทดสอบ 2 ปิดฝาขวดและเขย่าเล็กน้อย
•ถ่ายของเหลวจากขวดสารทดสอบที่ 2 ลงขวดสารทดสอบที่ 3 แล้วรีบปิดฝาขวด แกว่งเบาๆให้ของเหลวเข้ากัน สังเกตสีที่เกิดขึ้น
•ถ้ามีสีเกิดขึ้นตั้งแต่ สีชมพูจนถึงสีแดง แสดงว่าน้ำนั้นมีฟอร์มาลินผสมอยู่
สารกันรา ( กรดซาลิซิ ลิค )

ใช้ทดสอบกรดซาลิซิ ลิคในอาหาร เช่น ผักดอง – ผลไม้ดอง

ขั้นตอนการทดสอบ

•เทน้ำดองผักหรือน้ำดองผลไม้ ใส่ถ้วยเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ถ้วยละ 5 มิลลิลิตร
•หยดน้ำยาขวดเบอร์ 1 ( สีขาว ) ลงในถ้วยที่ 2 ประมาณครึ่งหลอดหยด
•เติมน้ำยาขวดเบอร์ 2 ( สีส้ม ) ลงในถ้วยทั้ง 2 ใบๆละ 1 มิลลิลิตร ( 1 หลอดหยด )
•ดูสีทันทีที่เติมน้ำยาจากขวดเบอร์ 2 ลงในถ้วยทั้ง 2 ใบ โดยไม่ต้องเขย่า
•ถ้าถ้วยที่ 1 มีสีเหมือนถ้วยที่ 2 แสดงว่าอาหารนั้นมีกรดซาลิซิ ลิค
ถ้าถ้วยที่ 1 มีสีไม่เหมือนถ้วยที่ 2 แสดงว่าอาหารนั้นไม่มีกรดซาลิซิ ลิค

1 ความคิดเห็น: